เริ่มทำงานหล่อเรซิ่นต้องรู้อะไรบ้าง

 เริ่มทำงานหล่อเรซิ่นต้องรู้อะไรบ้าง

พื้นฐานงานหล่อเรซิ่น

การทำงานกับเรซิ่น (Resin) สามารถแบ่งเป็นขั้นตอนหลายขั้นตอนตามวัตถุประสงค์และวัตถุประสงค์ของการใช้งาน นี่คือขั้นตอนทั่วไปที่มักใช้เมื่อทำงานหล่อเรซิ่น


  1. เตรียมพื้นผิว

ล้างแผ่นฟิล์มหรือพื้นผิวที่ต้องการใช้งานเรซิ่นเพื่อเอาสิ่งสกปรก, คราบ, หรือไขมันออกไปโดยใช้สารล้างที่เหมาะสม เช่นแอลกอฮอล์หรือสารทำความสะอาดที่ทำจากเอธานอล ควรตรวจสอบว่าพื้นผิวมีความสะอาดและแห้งสนิท โดยอาจต้องรอให้แห้งสนิทโดยใช้อากาศหรือเครื่องทำลม

  1. การผสม Resin

ผสมส่วนผสมของเรซิ่นและสารผู้ช่วยผสม (catalyst) ในอัตราส่วนที่ถูกต้องตามคำแนะนำของผู้ผลิต อาจต้องคลุกเคลือขนสารผสมเพื่อให้เข้ากันอย่างสมบูรณ์

  1. การใช้งาน Resin

หลังจากผสมเรซิ่นและสารผู้ช่วยผสมให้เสร็จสมบูรณ์ นำไปใช้งานโดยเทคทางหรือวิธีที่เหมาะสมตามวัตถุประสงค์ เช่นการระบายลงบนพื้นผิว, ใช้เป็นส่วนผสมในงานศิลปะหรืองานแสดง

  1. การเจาะอากาศและการลบฟองอากาศ (Degassing)

อาจจำเป็นต้องเจาะอากาศเพื่อลดฟองอากาศที่เกิดขึ้นในขั้นตอนการผสม Resin โดยการใช้วิธีการที่เหมาะสมเช่นการวางในหลุมสูญญากาศหรือการใช้เครื่องเจาะอากาศ

  1. การบ่ม (Curing)

ในขั้นตอนสุดท้าย, Resin จะต้องถูกบ่ม (curing) เพื่อให้มันเข้าสู่สถานะแข็งแรง วิธีการบ่มอาจจะเป็นการใช้แสง UV หรือความร้อนตามคำแนะนำของผู้ผลิต


สิ่งสำคัญที่ต้องจำไว้คือการทำงานกับเรซิ่นอาจต้องใช้ขั้นตอนและวัตถุประสงค์ที่แตกต่างกันขึ้นอยู่กับประเภทของเรซิ่นที่ใช้และการใช้งานที่ต้องการ คำแนะนำเฉพาะจะมีอยู่ในคำแนะนำของผู้ผลิตของวัสดุ Resin ที่คุณใช้งาย์ ดังนั้น ควรอ่านคำแนะนำอย่างระมัดระวังก่อนการเริ่มทำงานกับเรซิ่นที่คุณมีอยู่ด้วยเช่นกัน

15 ขั้นตอนการทำงานเรซิ่นสไตล์ SJเรซิ่น

(คัดลอกบางส่วนจากเว็บ www.resinsjthailand.com)

เนื่องจากการทำงานครั้งแรก มักจะประสบปัญหาไม่มากก็น้อย ทางเรามองเห็นปัญหานี้ จึงทำบทความขึ้นมาเพื่อสอนทำงานเรซิ่น ปิดช่องโหว่ในการทำงานครั้งแรกที่ไม่สมบูรณ์แบบ ให้เป็นสมบูรณ์แบบในครั้งแรกที่ลองทำ แต่อย่างไรก็ตามความชำนาญในการทำงานต้องพึ่งประสบการณ์อย่างมาก ดังนั้นจงตั้งใจทำงานทุกชิ้นที่ได้ทำจะดีที่สุด


ขั้นตอนที่ 1 รวบรวมวัสดุที่จำเป็นทั้งหมด

  1. เรซิ่น (โพลีเอสเตอร์เรซิ่น หรือ อีพ็อกซี่เรซิ่น)

  2. สารทำให้แข็ง (เมื่อใช้โพลีเอสเตอร์เรซิ่น หากใช้อีพ็อกซี่เรซิ่นให้ข้ามวัสดุนี้ไป)

  3. ถ้วยผสมเรซิ่น และไม้คนเรซิ่น

  4. อะซิโตน เผื่อคุณต้องการทำความสะอาดสิ่งที่หกหรือหยด

  5. ถุงมือไนโตรเจนกันสารเคมี

  6. สีผสมเรซิ่น กากเพชร หรือสารเติมแต่งอื่นๆ

  7. แม่พิมพ์หรือ แบบสำหรับเทเรซิ่นลงไป

  8. อุปกรณ์เสริมสำหรับงานอีพ็อกซี่เรซิ่น (เมื่อต้องการให้งานสมบูรณ์แบบที่สุด)


ขั้นตอนที่ 2 ทำความเข้าใจกับคำแนะนำของผู้ผลิตในการผสมเรซิ่นกับสารทำให้แข็ง (เมื่อใช้โพลีเอสเตอร์เรซิ่น หากใช้อีพ็อกซี่เรซิ่นให้ข้ามวัสดุนี้ไป)

ทำไมถึงให้อ่านและทำความเข้าใจกับคำแนะนำของผู้ผลิต เนื่องจากอัตราส่วนผสมจะแตกต่างกันไปของแต่ละผู้ผลิต และยังแตกต่างกันไปตามประเภทของเรซิ่นที่คุณใช้ทำงานในประเภทนั้นๆอีกด้วย และนี่เป็นสิ่งสำคัญที่จะทำให้เรซิ่นของคุณแข็งตัวได้อย่างสมบูรณ์แบบตามคำแนะนำของผู้ผลิตนั้นๆ และจะไม่ส่งผลให้เกิดความผิดพลาด หรือข้อบกพร่องในชิ้นงานนั้นๆอีกด้วย

ขั้นตอนที่ 3 เตรียมพื้นที่ทำงาน

ตรวจสอบให้แน่ใจว่ามีอากาศถ่ายเทสะดวก สะอาด และตรวจสอบให้แน่ใจว่าคุณมีแสงสว่างเพียงพอ ที่สำคัญ ควรมีอุปกรณ์ป้องกันตัวตอนทำงานเรซิ่นด้วยนะ เช่น สวมถุงมือไนโตรเจนกันสารเคมีเรซิ่น และหน้ากากกันสารเคมีของ 3M เพื่อป้องกันการสูดดมสารเคมีในระยะยาว ซึ่งอาจจะมีผลเสียในระยะยาวก็ได้นะ

ขั้นตอนที่ 4 เตรียมอุปกรณ์ทำความสะอาด

กระดาษเช็ดมือ ที่ขูด และน้ำยาทำความสะอาดไว้ใกล้ๆ เผื่อคุณต้องการทำความสะอาดสิ่งที่หก หรือ หยด

ขั้นตอนที่ 5 เตรียมพื้นผิวชิ้นงาน

การเตรียมพื้นผิวที่คุณจะทำงานนั้น เช่น เช็ด และทำความสะอาดให้มั่นใจว่า ชิ้นงานนั้นไม่มีน้ำ น้ำมันเคลือบบนชิ้นงานอยู่ หรือใช้กระดาษทรายขัดพื้นผิวชิ้นงานให้เรียบเนียน กรณีที่ผิวของชิ้นงานขรุขระ





ขั้นตอนที่ 6 ตวงเรซิ่นตามปริมาณที่ถูกต้อง

ตวงเรซิ่น (โพลีเอสเตอร์เรซิ่น หรืออีพ็อกซี่เรซิ่น) และสารทำให้แข็ง (เมื่อใช้โพลีเอสเตอร์เรซิ่น หากใช้อีพ็อกซี่เรซิ่นให้ข้ามวัสดุนี้ไป) ในปริมาณที่ถูกต้องตามคำแนะนำของผู้ผลิตนั้นๆ โดยการใช้ถ้วยผสมเรซิ่น และไม้คนเรซิ่น

ขั้นตอนที่ 7 เตรียมนาฬิกา 1 เรือน

เพื่อที่จะจับเวลา ติดตามการทำงานของเรซิ่น เนื่องจากเรซิ่นจะมีระยะเวลาการทำงานที่ค่อนข้างจำกัด เช่น โพลีเอสเตอร์เรซิ่น จะแห้งไว หรือช้า ขึ้นอยู่กับการผสมโคบอลต์ และตัวเร่งแข็ง หรืออีพ็อกซี่เรซิ่น จะมีระยะเวลาที่ตรงตัว 20-30นาทีเซ็ตตัว ดังนั้น การจับเวลาเพื่อติดตามการทำงานเรซิ่น เป็นขั้นตอนที่ไม่ควรพลาด หากพลาด คุณจะเสียทั้งเวลาในการทำงานใหม่ และเสียทั้งเงินที่เรซิ่นทำการแข็งตัวก่อนที่จะทำงานเสร็จสมบูรณ์

ขั้นตอนที่ 8 ผสมเรซิ่น ให้เข้ากัน

ผสมเรซิ่น (โพลีเอสเตอร์เรซิ่น หรืออีพ็อกซี่เรซิ่น) และสารทำให้แข็ง (เมื่อใช้โพลีเอสเตอร์เรซิ่น หากใช้อีพ็อกซี่เรซิ่นให้ข้ามวัสดุนี้ไป) ให้เข้ากัน ใช้ถ้วยผสมเรซิ่น และไม้คนเรซิ่นแยกต่างหากสำหรับแต่ละส่วนประกอบ เพื่อหลีกเลี่ยงการปนเปื้อน (กรณีที่ทำชิ้นงานที่มีหลากหลายสี)

ขั้นตอนที่ 9 หากคุณใช้แม่พิมพ์ (โมลด์)

กรณีที่คุณใช้แม่พิมพ์ หรือโมลด์ แนะนำให้ใช้สารช่วยคลายตัว เช่น ซิลิโคนออยล์ สเปรย์ซิลิโคน BOSNY หรือ วาสลีนทาแบบ กันติดแม่พิมพ์ยางซิลิโคน ไม่ทำให้ชิ้นงานเป็นรอยและขุ่นมัว ทำให้ถอดแบบออกจากแม่พิมพ์ยางซิลิโคนง่ายขึ้น เพื่อป้องกันไม่ให้เรซิ่นเกาะติด

ขั้นตอนที่ 10 เทเรซิ่นที่ผสมกันจนทั่วแล้ว

ทำการเทเรซิ่นที่ผสมกันจนทั่วแล้ว ลงไปในแม่พิมพ์ แบบบล็อก หรือจะใช้เคลือบพื้นผิว โดยการใช้ไม้พาย หรือแปรง1” เพื่อเกลี่ยเรซิ่นหากจำเป็น (ซึ่งสามารถใช้ไล่ฟองอากาศได้นะ หากทำการเคลือบพื้นผิว)

ขั้นตอนที่ 11 การกำจัดฟองอากาศเรซิ่น

ขั้นตอนนี้ถือเป็นขั้นตอนที่สำคัญ คือการ กำจัดฟองอากาศเรซิ่น ที่อาจจะเกิดขึ้นบนพื้นผิวของเรซิ่นเรา ไม่ว่าจะเกิดจากการที่เราคนเรซิ่นในขั้นตอนที่ 6 แรงเกินไป โดยการใช้ปืนไล่ฟองอากาศบนผิวอีพ็อกซี่เรซิ่น หรือจะเป็น 4วิธีไล่ฟองอากาศเรซิ่น

ขั้นตอนที่ 12 ปล่อยให้เรซิ่นแข็งตัวสมบูรณ์แบบ

หลังจากไล่ฟองอากาศในเรซิ่นเรียบร้อย ให้ทำการรอให้เรซิ่นแข็งตัวตามระยะเวลาที่แนะนำ โดยปกติคือ 24 ชั่วโมง ก่อนที่จะทำออกจากแม่พิมพ์ หรือแบบบล็อก ที่เราทำงาน

ขั้นตอนที่ 13 ถอดเรซิ่นออกจากแม่พิมพ์

เมื่อเรซิ่นเกิดการแข็งตัวแบบสมบูรณ์แล้ว ให้นำออกมาจากแม่พิมพ์ แบบบล็อก หรือพื้นผิวที่ทำการเคลือบ หากคุณใช้เคลือบพื้นผิว

ขั้นตอนที่ 14 ใช้กระดาษทรายขัดพื้นผิวของเรซิ่นตามต้องการ

ด้วยการขัดไล่เบอร์จากหยาบไปถึง ละเอียด (แต่หากคุณใช้อีพ็อกซี่เรซิ่น คุณสามารถข้ามขัดตอนนี้ได้เลย เนื่องจากอีพ็อกซี่เรซิ่น เมื่อแข็งตัวแบบสมบูรณ์แล้ว ผิวงานจะไม่เหนอะเหมือนกันโพลีเอสเตอร์เรซิ่น)

ขั้นตอนที่ 15 ใช้ครีมขัดเงาขัดพื้นผิวของเรซิ่น

หากทุกคนต้องการให้เรซิ่นมีความเงา สวยงามขึ้น เราแนะนำให้ใช้ครีมขัดเงาเพื่อให้มีความเงาเพิ่มขึ้น (แต่หากไม่ต้องการให้เงา ทุกคนอาจจะข้ามขั้นตอนนี้ไปได้เลย)


คงจะพอได้ไอเดียในเบื้องต้นก่อนที่จะลงมือทำงาน ไม่มีวิธีใดที่จะดีไปกว่าการลงมือทำ ปรึกษากับผู้ขายผู้เชี่ยวชาญก็จะทำให้เข้าใจได้เร็วขึ้น


ความคิดเห็น