วิธีการใช้งานอีพ็อกซี่เรซิ่น การผสมเรซิ่น การผสมสี การทำงานและข้อควรระวัง

 Epoxy Resin How to วิธีการผสม การใช้งาน การทำงานและข้อควรระวังในการใช้งานเรซิ่น

วิธีการใช้งานอีพ็อกซี่เรซิ่น การผสม การใส่สี การทำงานและข้อความระวัง สำหรับงานเรซิ่น โดย www.resinsjthailand.com

EPOXY RESIN HOW TO วิธีการผสม การใช้งาน การทำงานและข้อควรระวังในการใช้งานเรซิ่น

วิธีการใช้งานอีพ็อกซี่เรซิ่น การผสม การใส่สี การทำงานและข้อความระวัง สำหรับงานเรซิ่น โดย www.resinsjthailand.comวิธีการใช้งานอีพ็อกซี่เรซิ่น 011[ https://resinsjthailand.com/products/resinglass011-epoxy-resin/  ]สำหรับมือใหม่ที่ไม่เคยทำงานเรซิ่นมาก่อนก็ไม่ต้องกังวลนะคะ  ขอแค่ทำตามที่บอกไว้ข้างบรรจุภัณฑ์ก็ทำชิ้นงานเรซิ่นได้แห้ง สวยแล้วค่ะ มาลองดูขั้นตอนการผสมเรซิ่น การผสมสี การทำงานและข้อควรระวังกันน้าาา

ผสมสีในpart B (เพราะpart Bเหลว คนผสมได้ง่ายกว่าpartA ) คนผสมให้เข้ากัน สามารถตั้งทิ้งไว้ให้ฟองอากาศลอยออก แล้วผสม part A ในอัตราส่วน1ต่อ1 โดยการชั่งน้ำหนัก เช่น ถ้าต้องการใช้เรซิ่น500กรัม ให้แบ่งpartA 250กรัม + part B 250กรัม ( เน้นย้ำว่า ต้องเป็นการชั่งน้ำหนัก เท่านั้นค่ะ  เคมี A B ความเข้มข้น ความหนืดไม่เท่ากัน ) ที่แนะนำให้ผสมใน part Bเพราะ ความเหลวมีมากกว่า ทำให้ผสมกันได้ง่ายค่ะ

ข้อควรระวัง
-ถ้าเทลงพื้นที่ ที่ต้องการความหนา ควรแบ่ง ทะยอยผสมแล้วเท ไม่ควรให้เคมีอีพ็อกซี่อยู่รวมกันหนาเกินไป เพราะจะทำให้เกิดความร้อนสะสม ทำให้ชิ้นงานแตกร้าวได้
-ความร้อนที่ว่านี้ เกิดได้จากการทำปฏิกิริยากันระหว่างอีพ็อกซี่เรซิ่น part A และ part B ถ้าเคลือบผิวหน้าโต๊ะ บางๆไม่มีปัญหาเรื่องความร้อนสะสม ถ้าเทหนา อยากให้ระมัดระวังเรื่องนี้ไว้หน่อยค่ะ

~~ฟองอากาศ เป็นเรื่องที่เกิดได้ง่าย ทั้งจากการคนผสม การเทน้ำยาเรซิ่นลงภาชนะ และฟองจากไม้ที่ค่อยผุดขึ้นมา
~วิธีไล่ฟอง ใช้เปลวไฟ จากแก๊สกระป๋อง ชนิดเดียวกับที่ใช้ทำอาหารพวกซูชิกริลล์ ฯลฯ หรือความร้อนจากไดร์ลมร้อน พาไฟร้อนผ่านจุดที่มีฟอง ฟองอากาศจะแตกเปรี๊ยะๆๆออกไปได้ง่าย ใช้แก๊สจะไม่มีแรงลม เรซิ่นที่ยังเป็นของเหลวจะไม่กระพือ ขึ้นขอบ หรือ ควบคุมไม่ได้  แต่หากต้องการการไล่เฉดสีด้วยแรงลม แนะนำให้เลือกใช้ไดร์เป่าผม  หรือ ไดร์ลมร้อน

~~~ข้อควรระวังจากการใช้ไฟไล่ฟองคือ ไม่ควรจ่อไฟที่จุดเดิมนานๆ เปลวไฟอาจติด ลุกโชนขึ้นได้

เครื่องพ่นไฟไล่ฟองอากาศ [ https://resinsjthailand.com/products/honest-501-jet/ ]

 

ระยะเจล ( Geltime) คือ เวลาที่เรซิ่นยังเป็นของเหลว ก่อนเปลี่ยนเป็นเจล(คล้ายเจลลี่)
ระยะเคียว ( curetime) คือ เวลาที่เรซิ่นแห้ง เปลี่ยนจากของเหลวไปเป็นของแข็ง

ยิ่งให้เวลานาน ชิ้นงานเรซิ่นยิ่งแข็งแรง แข็งแกร่ง การทำงานเรซิ่น ไม่ควรเร่งปฏิกิริยา ควรปล่อยให้เคมีเซทตัวตามที่กำหนดสัดส่วนไว้ค่ะ

…                                     💚❤💚❤💚

บริษัท เอสเจ สินธุพันธ์เทรดดิ้ง จำกัด
โทรศัพท์ : 02-3794555 , 02-3794575 , 02-3794604
โทรศัพท์มือถือ : 088-2990267 , 086-3171747
Line ID : @resinsj
Facebook : https://www.facebook.com/resinsjthailand/

Youtube : https://www.youtube.com/watch?v=gwvpSNleKDE&list=PLvky3OjbrEtnA5R82ToT-W1k0Q-Fne0Xs

“งานเรซิ่น … นึกอะไรไม่ออก บอกเอสเจจร๊า”

 

ความคิดเห็น